Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556


1.  ประเทศไทยใช้ระบบ ออนไลน์ ตัวใดในองค์กรธุรกิจ

ระบบ คลาวว์ คอมพิงดิ้ง (Cloud Computing)

                   แม้ว่าหัวข้อจะฟังดูเหมือนโฆษณาเกินจริง แต่ความหมายของคำว่า Cloud Computing หรือ การประมวลผลแบบคลาวด์ นั่นจริงๆ แล้วหมายถึงอะไร? และที่สำคัญยิ่งกว่าคือ อะไรคือประโยชน์หรือโอกาสที่ได้จากโมเดลใหม่นี้สำหรับนักธุรกิจ หากเราพูดถึงในมุมของธุรกิจ คลาวด์จะหมายถึงความยืดหยุ่น การรองรับการขยายตัว โมเดลการใช้งานแบบจ่ายตามการใช้จริง สำหรับการใช้บริการด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้บริการระยะสั้นๆ ด้วยโมเดลจ่ายตามการใช้จริงนี้ องค์กรมากมายจึงสามารถเปลี่ยนงบลงทุนด้านไอทีให้กลายเป็นงบค่าใช้จ่ายแทนได้ ดังนั้นจึงช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายด้านไอทีที่สะท้อนความต้องการทางธุรกิจได้ตรงยิ่งขึ้น รวมถึงหมดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ที่อาจตามมาด้วย

คลาวด์มีหลากหลายระดับหลากหลายรูปแบบแล้วแต่การนำโมเดลนี้ไปใช้งาน โดยมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน ได้แก่:

       -Infrastructure-as-a-Service (IaaS) – บริการเวอร์ชวลแมนชีนที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่าย ช่วยรองรับความต้องการใช้งานในการประมวลผลหรือสตอเรจ

·               --Platform-as-a-Service (PaaS) – บริการด้านแพลตฟอร์มสำหรับซอฟต์แวร์ (เช่น เว็บ แอพพลิเคชัน ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ระบบประมวลผลกลางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และมิดเดิลแวร์อื่นๆ โดยทำงานภายใต้การควบคุมด้านความปลอดภัยสูง) ที่เรียกใช้งานได้ผ่านเว็บแอพพลิเคชัน

·           - Software-as-a-Service (SaaS) – เป็นบริการด้านแอพพลเคชันโดยคิดค่าบริการเป็นไลเซนต์ของผู้ใช้ หรือตามปริมาณการใช้งาน

·       -  Data-as-a-Service (DaaS) – ให้บริการข้อมูลหรืออินฟอร์เมชันจากคลาวด์อื่นๆ เป็นแหล่งเก็บข้อมูลดิบหรือข้อมูลเพื่อใช้เชือมโยงการวิเคราะห์

·         -Business Process-as-a-Service (BPaaS) – เป็นคลาวด์สำหรับบริการด้านธุรกิจที่ต้องการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและวัดผลลัพธ์ทางธุรกิจได้
 
 
 
แหล่งที่มา  www.ccm.in.th, Powered by Joomla!
 
 






2. TQM -BPR คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

      TQM  คือ Total Quality Management
หมายถึง หมายถึง :การบริหารหรือวิธีการจัดการที่จะให้ได้มาซึ่งงานหรือบริการที่มีคุณภาพ ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันของทุกคน ทุกระดับ
ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่ดีกว่าและเป็นการจัดระบบบริหาร
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การดำเนินโครงการ TQM เปรียบเสมือนกับการสร้างบ้านคุณภาพ บ้านที่แข็งแรงย่อมต้องมีเสาที่มาค้ำยันตัวบ้านไว้ ซึ่งคือกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการนั่นเอง
TQM ก็เปรียบเสมือนกับเสาของบ้าน ยิ่งมีเสาที่แข็งแรงมาค้ำยันตัวบ้านไว้มากเท่าไร บ้านก็ยิ่งแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น

วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM
1. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน
3. เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง
4. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
5. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
6. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

แนวทางการส่งเสริม TQM ภายในองค์กร
1. ผู้บริหารระดับสูงต้องมีศรัทธาและมีความเชื่อมั่นว่าTQM จะสามารถช่วยปรับปรุงพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน

2. นำ TQM มาเป็นนโยบายในการบริหารธุรกิจ และประกาศให้พนักงานทุกคนได้รับรู้

3. จัดตั้งหน่วยงานส่งเสริม TQM เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันการดำเนินงานต่าง ๆ ในกิจกรรมTQM ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

4. จัดตั้ง TQM Steering Committee โดยมีกรรมการผู้จัดการเป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบาย, ผลักดันการดำเนินการ, ติดตามผลและแก้ปัญหาหลัก ๆ ในการทำกิจกรรม TQM

5. หาที่ปรึกษา (Consultant) หากคิดว่าจำเป็น

6. กำหนด Road Map ของการทำ TQM และแผนงานหลัก

7. ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนงานที่กำหนด

8. ดำเนินการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมต่าง ๆ ของ TQM

9. ผู้บริหาระดับกลางตรวจสอบการปฏิบัติและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

10.ผู้บริหารระดับสูงตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) ผลการดำเนินงานTQM เป็นระยะๆ

11.ประเมินผลงานประจำปี

 
 

 
 
ที่มา  http://www.kroobannok.com/32307
 
 
 

    BPR  คือ       
             Business Process Reengineering หรือ Business Process Redisign หรือที่เรียกย่อๆว่า BPR นั้นคือความพยายามเชิงการจัดการ ที่มีความมุ่งหมายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกระบวนการทำงานขององค์กรตลอดทั้งระบบ วิธีการนั้นก็แสนจะง่าย เพียงมองกลับไปมองที่ระบบการทำงานขององค์กร เดเวนพอร์ท (1993) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง BRP ชี้ว่า วิธีการ Reengineering นั้นจะต้องคิดหารูปแบบใหม่ในวิธีการทำงาน, กิจกรรมที่จำเป็นต้องทำจริงจริง และการนำเอาคน, วิทยาการ และองค์กร มาประสานเข้าด้วยกัน

 
 
 

 
 
 
 

3.การจัดการความรู้  คืออะไร

                             การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

           การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

          1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

1.      ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

 

                      นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่

          1. บรรลุเป้าหมายของงาน

          2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน

          3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ

          4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

 

          การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่

           (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร

          (2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ

          (3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน

          (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน

          (5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดขุมความรู้ออกมาบันทึกไว้

          (6) การจดบันทึกขุมความรู้และ แก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
 
                                     ที่มา ttp://iad.dopa.go.th/subject/lo_iad.html






 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น