Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

Database คืออะไร



 Database คืออะไร

                       

      ระบบฐานข้อมูล (Database)
                ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา  หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาค








Database คืออะไร


 Database คืออะไ

                       

      ระบบฐานข้อมูล (Database)
                ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา  หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต


 


                       

      ระบบฐานข้อมูล (Database)
                ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา  หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต








วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

การสืบค้นข้อมูลบน GOOGLE มีกี่ประเภทอย่างไรบ้าง

การสืบค้นข้อมูลบน GOOGLE มีกี่ประเภทอย่างไรบ้าง

ระบบ E-Office คืออะไร

1.  ระบบ E-Office


ระบบ E-Office
สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) คือ การใช้เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อปฎิบัติงานทั่วไป งานประจำวัน อย่างเช่น การจัดการเอกสาร จดหมายอิเล็คโทนิค การเก็บรักษาและแก้ไขกลุ่มข้อความ กลุ่มรูปภาพ งานทางบัญชี และ อื่น ๆ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ ยังรวมถึงระบบ เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมที่สามารถใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย
ระบบ  OIS
ระบบสารสนเทศสำนักงาน.Office Information System (OIS)
-
สำนักงานที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินงานเกี่ยวกับงานสำนักงาน เพื่อให้ได้สารสนเทศ มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจต่างๆ ในการบริหารให้ เป็นไปอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์และมีความเสี่ยงต่อความผิดพลาดน้อย
เกี่ยวข้องกันคือ
1.   มีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในสำนักงาน
2.   สามารถส่งงานต่างๆผ่าน แต่ละระบบได้

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ

1. ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ     ประโยชน์ที่ได้จากการจัดการทรัพยากรสารสนเทศคือ
  1. รวบรวมข้อมูลจากภายในและภายนอกที่มีความจำเป็นต่อหน่วยงาน
  2. ประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์นำไปใช้งานได้
  3. มีระบบการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ สะดวกต่อการค้นหาและนำไปใช้
  4. ปรับปรุงข้อมูลให้อยู่ในสภาพที่ถูกต้อง ทันสมัยอยู่เสมอ
ประโยชน์ที่ได้จากระบบสารสนเทศที่มีต่อการบริหารงานในองค์กร คือ
  1. เพื่อการวางแผน กำหนดเป้าหมายและนโยบายในการบริหารองค์กร
  2. สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
  3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในองค์กร
  4. ช่วยให้การทำงานรวดเร็ว ถูกต้อง การบริหารงานในองค์กรมีประสิทธิภาพ
  5. ใช้ควบคุมระบบการทำงานในองค์กรให้ดำเนินไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
  6. องค์กรมีมาตรฐานและคุณภาพในการดำเนินงาน ทำให้ได้รับความเชื่อถือ
  7. สร้างโอกาสในการลงทุน ทำให้มีการขยายองค์กรให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น
  8. สามารถแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้

                       


2. TPS  MRS  DSS  คืออะไร


1.     ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (TPS)
            เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า

หน้าที่ของ TPS
      1)
การจัดกลุ่มของข้อมูล (Classification) คือ การจัดกลุ่มข้อมูลลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน
      2)
การคิดคำนวณ (Calculation) การคิดคำนวณโดยใช้วิธีการคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ เช่น การคำนวณภาษีขายทั้งหมดที่ต้องจ่ายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
      3)
การเรียงลำดับข้อมูล (Sorting) การจัดเรียงข้อมูลเพื่อทำให้การประมวลผลง่ายขึ้น เช่น การจัดเรียง invoices ตามรหัสไปรษณีย์เพื่อให้การจัดส่งเร็วยิ่งขึ้น
      4)
การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการลดขนาดของข้อมูลให้เล็กหรือกะทัดรัดขึ้น เช่น การคำนวณเกรดเฉลี่ยของนักศึกษาแต่ละคน
      5)
การเก็บ (Storage) การบันทึกเหตุการณ์ที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน อาจจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลไว้ โดยเฉพาะข้อมูลบางประเภทที่จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ตามกฎหมาย ที่จริงแล้ว TPS เกี่ยวข้องกับงานทุกระดับในองค์การ แต่งานส่วนใหญ่ของ TPS จะเกิดขึ้นในระดับปฏิบัติการมากกว่า แม้ว่า TPS จะจำเป็นในการปฏิบัติงานในองค์การแต่ระบบ TPS ก็ไม่เพียงพอในการสนับสนุนในการตัดสินใจของผู้บริหาร ดังนั้นองค์การจึงจำเป็นต้องมีระบบอื่นสำหรับช่วยผู้บริหารด้วย ดังจะกล่าวต่อไป

2. ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ ( MRS)
           ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยการสรุปสารสนเทศที่มีอยู่ไว้ในฐานข้อมูล หรือช่วยในการตัดสินใจในลักษณะที่โครงสร้างชัดเจนและเป็นเรื่องที่ทราบล่วงหน้า

ลักษณะของ MRS
1)
ช่วยในการจัดทำรายงานซึ่งมีรูปแบบที่กำหนดไว้เป็นมาตรฐานตายตัว
2)
ใช้ข้อมูลภายในที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล
3)
ช่วยในการวางแผนงานประจำ และควบคุมการทำงาน
4)
ช่วยในการตัดสินใจที่เกิดขึ้นประจำหรือเกิดขึ้นบ่อยๆ
5)
มีข้อมูลในอดีต ปัจจุบัน และวิเคราะห์แนวโน้มอนาคต
6)
ติดตามการดำเนินงานภายในหน่วยงานเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับเป้าหมายและส่งสัญญาณหากมีจุดใดที่ต้องการการปรับปรุงแก้ไขประเภทของรายงาน MRS รายงานจาก MRS มีลักษณะต่างๆ ดังนี้
1)
รายงานที่จัดทำเมื่อต้องการ (Demand reports) เพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจ เป็นรายงานที่จัดเตรียมรูปแบบรายงานล่วงหน้าและจะจัดทำเมื่อผู้บริหาร ต้องการเท่านั้น
2)
รายงานที่ทำตามระยะเวลากำหนด (Periodic reports) โดยกำหนดเวลา และรูปแบบของรายงานไว้ล่วงหน้า เช่น มีการจัดทำรายงานทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี เช่น ตารางเวลาการผลิต
3)
รายงานสรุป (Summarized reports) เป็นการทำรายงานในภาพรวม เช่น รายงานยอดขายของพนักงานขาย จำนวนนักศึกษาลงทะเบียนวิชา MIS
4)
รายงานเมื่อมีเงื่อนไขเฉพาะเกิดขึ้น (Exception reports) เป็นการจัดทำรายงานเมื่อมีเกณฑ์เงื่อนไขเฉพาะ เพื่อตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ว่าแตกต่างจากที่วางแผนไว้หรือไม่ เช่น การกำหนดให้เศษของที่เหลือ (scrap) จากการผลิตในโรงงานเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ แต่ในการผลิตช่วงหลังกลับมีเศษของที่เหลือ 5 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นอาจมีการเขียนโปรแกรม ในการประมวลผลเพื่อหาว่าเศษของที่เหลือเกินจากที่กำหนดไว้ได้อย่างไร

หน้าที่ของแบบ MRS
1)
ช่วยในการตัดสินใจงานประจำของผู้บริหารระดับกลาง
2)
ช่วยในการทำรายงาน
3)
ช่วยในการตัดสินใจที่เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยๆ และมีโครงสร้างแน่นอน เช่น การอนุมัติสินเชื่อให้กับลูกค้า


3. ระบบสารสนเทศแบบ DSS
          เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตัดสินใจ ซึ่งมีลักษณะมีโครงสร้างไม่ชัดเจน โดยนำข้อมูลมาจากหลายแหล่งช่วยในการนำเสนอและมีลักษณะยืดหยุ่นตามความต้องการ ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Characteristics of DSS) ระบบ DSS จะมีการแบ่งแยกการตัดสินใจในลักษณะที่เป็นโครงสร้าง ลักษณะไม่เป็นโครงสร้าง และลักษณะกึ่งโครงสร้าง โดยส่วนใหญ่ปัญหาที่เป็นโครงสร้างเกิดจากการทำงานประจำ ส่วนปัญหาที่ไม่เป็นโครงสร้างเกิดจากความไม่แน่นอน เนื่องจากงานไม่เป็นประจำ ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกึ่งโครงสร้าง มักจะเกิดจากปัญหาที่มีโครงสร้างแต่ผิดไปจากงานประจำบ้าง โดยทั่วไประบบ DSS มักจะถูกนำมาใช้ในการออกแบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ วิเคราะห์ปัญหาในลักษณะกึ่งโครงสร้างและไม่เป็นโครงสร้าง ซึ่งแตกต่างจากระบบ TPS และ MIS ซึ่งมีการจัดการกับปัญหาที่เป็นโครงสร้าง และในขณะเดียวกันองค์การมักจะใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติ [Operations Research (OR)] ในการจัดเตรียมตัวแบบเพื่อใช้ในการสร้างทางเลือก แต่ในปัจจุบันระบบ DSS ได้ถูกออกแบบเพื่อรวมความสามารถของ TPS MIS และการสร้างตัวแบบของ OR เข้าด้วยกัน เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ และสร้างเครื่องมือในการวิเคราะห์ให้กับผู้ใช้
การออกแบบ DSS ที่ดีจะต้องสามารถตอบสนองต่อการนำไปใช้ของผู้บริหารระดับสูง สามารถช่วยในเรื่องการพยากรณ์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และผู้บริหารระดับกลางสามารถที่จะนำไปปฏิบัติได้ ในอดีตการตัดสินใจที่ผิดพลาดมักจะเกิดจากตัวบุคคล แต่ในปัจจุบันการตัดสินใจมักจะขึ้นกับกลุ่มบุคคลมากกว่าตัวบุคคล จึงมีการนำระบบ DSS มาช่วยในการตัดสินใจเป็นกลุ่ม [Group Decision Support System (GDSS)] ระบบ DSS ที่ดีจะสามารถช่วยในการหาข้อมูล เลือกข้อมูลและใช้ตัวแบบที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการควบคุมการทำงานด้วยตนเองปราศจากการแทรกแซงของผู้ชำนาญ ผู้ชำนาญจะทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา ฝึกอบรม แนะนำ และสนับสนุน ส่วนการปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ใช้


วันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2556


1.  ประเทศไทยใช้ระบบ ออนไลน์ ตัวใดในองค์กรธุรกิจ

ระบบ คลาวว์ คอมพิงดิ้ง (Cloud Computing)

                   แม้ว่าหัวข้อจะฟังดูเหมือนโฆษณาเกินจริง แต่ความหมายของคำว่า Cloud Computing หรือ การประมวลผลแบบคลาวด์ นั่นจริงๆ แล้วหมายถึงอะไร? และที่สำคัญยิ่งกว่าคือ อะไรคือประโยชน์หรือโอกาสที่ได้จากโมเดลใหม่นี้สำหรับนักธุรกิจ หากเราพูดถึงในมุมของธุรกิจ คลาวด์จะหมายถึงความยืดหยุ่น การรองรับการขยายตัว โมเดลการใช้งานแบบจ่ายตามการใช้จริง สำหรับการใช้บริการด้านไอที โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้บริการระยะสั้นๆ ด้วยโมเดลจ่ายตามการใช้จริงนี้ องค์กรมากมายจึงสามารถเปลี่ยนงบลงทุนด้านไอทีให้กลายเป็นงบค่าใช้จ่ายแทนได้ ดังนั้นจึงช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นในการใช้จ่ายด้านไอทีที่สะท้อนความต้องการทางธุรกิจได้ตรงยิ่งขึ้น รวมถึงหมดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ ที่อาจตามมาด้วย

คลาวด์มีหลากหลายระดับหลากหลายรูปแบบแล้วแต่การนำโมเดลนี้ไปใช้งาน โดยมีประโยชน์ที่แตกต่างกัน ได้แก่:

       -Infrastructure-as-a-Service (IaaS) – บริการเวอร์ชวลแมนชีนที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านเครือข่าย ช่วยรองรับความต้องการใช้งานในการประมวลผลหรือสตอเรจ

·               --Platform-as-a-Service (PaaS) – บริการด้านแพลตฟอร์มสำหรับซอฟต์แวร์ (เช่น เว็บ แอพพลิเคชัน ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ ระบบประมวลผลกลางสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ และมิดเดิลแวร์อื่นๆ โดยทำงานภายใต้การควบคุมด้านความปลอดภัยสูง) ที่เรียกใช้งานได้ผ่านเว็บแอพพลิเคชัน

·           - Software-as-a-Service (SaaS) – เป็นบริการด้านแอพพลเคชันโดยคิดค่าบริการเป็นไลเซนต์ของผู้ใช้ หรือตามปริมาณการใช้งาน

·       -  Data-as-a-Service (DaaS) – ให้บริการข้อมูลหรืออินฟอร์เมชันจากคลาวด์อื่นๆ เป็นแหล่งเก็บข้อมูลดิบหรือข้อมูลเพื่อใช้เชือมโยงการวิเคราะห์

·         -Business Process-as-a-Service (BPaaS) – เป็นคลาวด์สำหรับบริการด้านธุรกิจที่ต้องการปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจและวัดผลลัพธ์ทางธุรกิจได้
 
 
 
แหล่งที่มา  www.ccm.in.th, Powered by Joomla!
 
 






2. TQM -BPR คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

      TQM  คือ Total Quality Management
หมายถึง หมายถึง :การบริหารหรือวิธีการจัดการที่จะให้ได้มาซึ่งงานหรือบริการที่มีคุณภาพ ด้วยการร่วมมือร่วมใจกันของทุกคน ทุกระดับ
ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่ดีกว่าและเป็นการจัดระบบบริหาร
ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การดำเนินโครงการ TQM เปรียบเสมือนกับการสร้างบ้านคุณภาพ บ้านที่แข็งแรงย่อมต้องมีเสาที่มาค้ำยันตัวบ้านไว้ ซึ่งคือกิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการนั่นเอง
TQM ก็เปรียบเสมือนกับเสาของบ้าน ยิ่งมีเสาที่แข็งแรงมาค้ำยันตัวบ้านไว้มากเท่าไร บ้านก็ยิ่งแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น

วัตถุประสงค์ทั่วไปของ TQM
1. เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกิจกรรมทุกด้าน
3. เพื่อความอยู่รอดขององค์กรและสามารถเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ภายใต้ภาวการณ์แข่งขันที่รุนแรง
4. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานทุกคน
5. เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น
6. เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

แนวทางการส่งเสริม TQM ภายในองค์กร
1. ผู้บริหารระดับสูงต้องมีศรัทธาและมีความเชื่อมั่นว่าTQM จะสามารถช่วยปรับปรุงพัฒนาองค์กรได้อย่างยั่งยืน

2. นำ TQM มาเป็นนโยบายในการบริหารธุรกิจ และประกาศให้พนักงานทุกคนได้รับรู้

3. จัดตั้งหน่วยงานส่งเสริม TQM เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการผลักดันการดำเนินงานต่าง ๆ ในกิจกรรมTQM ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

4. จัดตั้ง TQM Steering Committee โดยมีกรรมการผู้จัดการเป็นประธาน เพื่อกำหนดนโยบาย, ผลักดันการดำเนินการ, ติดตามผลและแก้ปัญหาหลัก ๆ ในการทำกิจกรรม TQM

5. หาที่ปรึกษา (Consultant) หากคิดว่าจำเป็น

6. กำหนด Road Map ของการทำ TQM และแผนงานหลัก

7. ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนงานที่กำหนด

8. ดำเนินการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมต่าง ๆ ของ TQM

9. ผู้บริหาระดับกลางตรวจสอบการปฏิบัติและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

10.ผู้บริหารระดับสูงตรวจวินิจฉัย (Diagnosis) ผลการดำเนินงานTQM เป็นระยะๆ

11.ประเมินผลงานประจำปี

 
 

 
 
ที่มา  http://www.kroobannok.com/32307
 
 
 

    BPR  คือ       
             Business Process Reengineering หรือ Business Process Redisign หรือที่เรียกย่อๆว่า BPR นั้นคือความพยายามเชิงการจัดการ ที่มีความมุ่งหมายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกระบวนการทำงานขององค์กรตลอดทั้งระบบ วิธีการนั้นก็แสนจะง่าย เพียงมองกลับไปมองที่ระบบการทำงานขององค์กร เดเวนพอร์ท (1993) หนึ่งในผู้ก่อตั้ง BRP ชี้ว่า วิธีการ Reengineering นั้นจะต้องคิดหารูปแบบใหม่ในวิธีการทำงาน, กิจกรรมที่จำเป็นต้องทำจริงจริง และการนำเอาคน, วิทยาการ และองค์กร มาประสานเข้าด้วยกัน

 
 
 

 
 
 
 

3.การจัดการความรู้  คืออะไร

                             การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

           การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

          1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาติญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม

1.      ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

 

                      นพ.วิจารณ์ พานิช ได้ให้ความหมายของคำว่า การจัดการความรู้ไว้ คือ สำหรับนักปฏิบัติ การจัดการความรู้คือ เครื่องมือ เพื่อการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 4 ประการไปพร้อมๆ กัน ได้แก่

          1. บรรลุเป้าหมายของงาน

          2. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน

          3. บรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปเป็นองค์กรเรียนรู้ และ

          4. บรรลุความเป็นชุมชน เป็นหมู่คณะ ความเอื้ออาทรระหว่างกันในที่ทำงาน

 

          การจัดการความรู้เป็นการดำเนินการอย่างน้อย 6 ประการต่อความรู้ ได้แก่

           (1) การกำหนดความรู้หลักที่จำเป็นหรือสำคัญต่องานหรือกิจกรรมของกลุ่มหรือองค์กร

          (2) การเสาะหาความรู้ที่ต้องการ

          (3) การปรับปรุง ดัดแปลง หรือสร้างความรู้บางส่วน ให้เหมาะต่อการใช้งานของตน

          (4) การประยุกต์ใช้ความรู้ในกิจการงานของตน

          (5) การนำประสบการณ์จากการทำงาน และการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดขุมความรู้ออกมาบันทึกไว้

          (6) การจดบันทึกขุมความรู้และ แก่นความรู้สำหรับไว้ใช้งาน และปรับปรุงเป็นชุดความรู้ที่ครบถ้วน ลุ่มลึกและเชื่อมโยงมากขึ้น เหมาะต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
 
                                     ที่มา ttp://iad.dopa.go.th/subject/lo_iad.html