Powered By Blogger

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด 8-9

แบบฝึกหัด 8-9


1.ในการวางแผนองค์กร ประกอบด้วยกระบวนการพื้นฐานอะไรบ้าง

     การสร้างระบบสารสนเทศใหม่เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการวางแผนองค์การ โดยจะต้องมีการพัฒนาแผนระบบสารสนเทศให้สนับสนุนกับแผนรวมขององค์การทั้งหมด  ซึ่งองค์กรควรจะมีแผนกลยุทธ์ขององค์กรก่อนเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดแผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศให้รองรับกับแผนกลยุทธ์ขององค์การ จากนั้นจึงกำหนดแผนปฏิบัติการและโครงสร้างด้านสารสนเทศเพื่อนำมาใช้ในองค์การต่อไป
โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ความหมายครอบคลุมทั้งทางด้านเทคนิคและทางด้านการบริหาร  ซึ่งในด้านเทคนิคหมายความรวมถึง ฮาร์ดแวร์ซอร์ฟแวร์,เครือข่าย,และฐานข้อมูลส่วนด้านการจัดการ คือ การดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านคอมพิวเตอร์ (เช่นศูนย์คอมพิวเตอร์) บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง การตัดสินใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ เป็นต้น


2.การวางแผนกลยุทธ์มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งใด

     เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ระยะยาวเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการริเริ่มในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศ มีลักษณะ 3 ประการคือ
     2.1   แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศจะต้องสัมพันธ์กับแผนกลยุทธ์ขององค์กร
     2.2   แผนกลยุทธ์ด้านระบบสารสนเทศควรจะมีการกำหนดโครงสร้างด้านเทคโนโลยี (IT Architecture) ซึ่งต้องทำให้ฐานข้อมูลแอพพลิเคชั่นและผู้ใช้มีการเชื่อมโยงเป็นระบบเดียวกัน
2.3   มีการจัดสรรทรัพยากรด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้สำเร็จตามเวลา และทำตามหน้าที่ที่กำหนดไว้

 3.จงสรุปขั้นตอนการวางแผนระบบสาระสนเทศมาพอเข้าใจ
 
1. วิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ขององค์การ
    - วิสัยทัศน์ : องค์การกำลังมุ่งไปในทิศทางใด
    - แผนกลยุทธ์ : องค์การจะเดินไปตามทิศทางที่กำหนดไว้อย่างไร
2. ระบบสารสนเทศจะสนับสนุนวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์การอย่างไร
      - ระบบสารสนเทศจะมีบทบาทในการสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์การอย่างไร
     -  ระบบสารสนเทศเดิมเป็นอย่างไร
      - แผนระบบสารสนเทศในปัจจุบันเป็นอย่างไร
      - แผนระบบสารสนเทศในอนาคตจะพัฒนาในลักษณะอย่างไร
 3. ระบบสารสนเทศในปัจจุบัน
      - ระบบปัจจุบันได้สนับสนุนองค์การมากน้อยเพียงไร
     - ระบบปัจจุบันมีความเหมาะสมหรือไม่ มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร
     - ควรจะปรับปรุงระบบปัจจุบันอย่างไร
4. ระบบสารสนเทศที่เสนอแนะ
       - หลักการและเหตุผล
       - ความสามารถของระบบใหม่
       - ฮาร์ดแวร์
      - ซอร์ฟแวร์
ข้อมูล และการสื่อสารข้อมูล
5. กลยุทธ์ทางการบริหาร
       - แผนการจัดหา
       - ช่วงเวลาดำเนินการ
       - การจัดโครงสร้างองค์การใหม่
       - การปรับปรุงระบบงานภายในองค์การ
       - การควบคุมทางการบริหาร
       - การฝึกอบรม
      - กลยุทธ์ด้านบุคลากร
6. แผนปฏิบัติการ
       - รายละเอียดแผนปฏิบัติการ
       - ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
       - รายงานความก้าวหน้า
7. งบประมาณที่ต้องการใช้
       - ค่าใช้จ่ายทั้งหมด

4.วงจรพัฒนาระบบ SDLC มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้างจงอธิบาย

    ขั้นตอนการพัฒนาระบบงานแบบวงจรชีวิตแบบดั้งเดิม ประกอบด้วยขั้นตอนของการพัฒนาระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่
                1. การสำรวจระบบ (Systems Investigation)
                2. การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis)
                3. การออกแบบระบบ (Systems Design)
                4. การเขียนโปรแกรม (Programming)
                5. การทดสอบระบบ (Testing)
                6. การนำระบบไปติดตั้ง (Implementation)
                7. การปฏิบัติงานโดยใช้ระบบใหม่ (Operation)
                8. การบำรุงรักษา (Maintenance)

.5.จริยธรรมหมายถึงอะไร

คำจำกัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย
   เช่น
หลักของศีลธรรมในแต่ละวิชาชีพเฉพาะ
มาตรฐานของการประพฤติ ปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ
ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทำสิ่งที่ถูกและหลีกเลี่ยงการกระทำที่ผิด
สรุป
จริยธรรม (Ethics) คือ หลักของความถูกและผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ

6.ประเด็นทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง

    R.O. Mason และคณะ (2001) ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภท คือ
          1.) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy)
          2.) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
          3.) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property)
          4.) ประเด็นของความเข้าถึงได้ของข้อมูล (Accessibility)
                                                                                               
7.อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์คืออะไร และจะมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างไรบ้างจงอธิบาย

      ปัจจุบัน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาล
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจจะเป็นไปได้ทั้ง
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม
    คือ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และทำลายระบบคอมพิวเตอร์
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป้าหมายของอาชญากรรม
 2.1 การเข้าถึงและการใช้คอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกกฎหมาย
       ซึ่งมีทั้ง Hacker และ Criminal Hacker (Cracker)
 2.2 การเปลี่ยนแปลงและทำลายข้อมูลโดยR virus : เป็นโปรแกรมที่ต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมอื่น
  R worms : เป็นโปรแกรมอิสระที่สามารถจำลองโปรแกรมเองได้
  2.3 การขโมยข้อมูลข่าวสารและเครื่องมือ
  2.4 การสแกมทางคอมพิวเตอร์ (Computer-related Scams)
การรักษาความปลอดภัย

การรักษาความปลอดภัยให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัย และยังช่วยลดข้อผิดพลาด การทำลายระบบสารสนเทศ มีระบบการควบคุมที่สำคัญ 3 ประการ คือ
 การควบคุมระบบสารสนเทศ
      - การควบคุมอินพุท
      - การควบคุมการประมวลผล
      - การควบคุมฮาร์ดแวร์
      - การควบคุมซอร์ฟแวร์
      การควบคุมเอาท์พุท
  การควบคุมกระบวนการทำงาน
      - การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐานและคู่มือ
      - การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
      - การมีแผนการป้องกันการเสียหาย
      - การตรวจสอบระบบสารสนเทศ
การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
      - ความปลอดภัยทางเครือข่าย (Network Security)
      - การแปลงรหัส (Encryption)
      - กำแพงกันไฟ (Fire Walls)
      - การป้องกันทางกายภาพ (Physical Protection Controls)
      - การควบคุมด้านชีวภาพ (Biometric Control)
      - การควบคุมความล้มเหลวของระบบ

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

1.            ให้นักศึกษาอธิบายความหมายของ  E-commerce
Electronic Commerce

           
หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป

2.            จงบอกประเภทของ E-commerce มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
        1.Business-to-consumer (B2C) หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค เช่น
-
การขายสินค้าอุปโภคบริโภค หรือเป็นการทำการค้าแบบขายปลีก คือการขายสินค้าให้กับลูกค้าแต่ละรายๆ ไป

-
การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้บริโภคกับธุรกิจโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กลุ่มสนทนา  กระดานข่าว  เป็นต้น

-
การจัดการด้านการเงิน ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถจัดการเรื่องการเงินส่วนตัว เช่น ฝาก-ถอน เงินกับธนาคาร  ซื้อขายหุ้นกับผู้ค้าหุ้น  เช่น  อีเทรด (www.etrade.com) เป็นต้น
-
ซื้อขายสินค้าและข้อมูล ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถซื้อขายสินค้า และข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตได้โดยสะดวก
             2.Business-to-business (B2B)
หมายถึงธุรกิจที่มุ่งเน้นให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน โดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ เช่น ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น ทั้งนี้โดยมีตัวอย่างต่อไปนี้
-
การจัดซื้อ ช่วยให้จัดซื้อได้ดีขึ้น ทั้งด้านราคา และระยะเวลาการส่งของ

-
การจัดการสินค้าคงคลัง
-
การจัดส่งสินค้า
-
การจัดการช่องทางขายสินค้า
-
การจัดการด้านการเงิน
            3.Consumer-to-consumer (C2C)
หมายถึงธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่น การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อีเบย์ดอทคอม(Ebay.com) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถจ่ายเงินให้กันทางบัตรเครดิตได้

3.            ประโยชน์และข้อจำกัดของ E-commerce มีอะไรบ้างจงอธิบาย

ข้อดี ข้อเสียของ E-Commerce

          คือ การดำเนินธรุกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยผู้ซื้อ (Customer) สามารถดำเนินการ เลือกสินค้า คำนวนเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิต ได้โดยอัตโนมัติ ผู้ขาย (Business) สามารถนำเสนอสินค้า ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า โดยอัตโนมัติ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย Internet




ข้อดี
1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก
ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เนต
4.            เทคโนโลยี EDI มีความสำคัญต่อ  E-Commerce อย่างไร
การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ : กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จ
 Electronic  Data  Interchange (EDI) : Strategy for Successful )
การสื่อสารยุคปัจจุบันสามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วไร้ขอบเขตจำกัด    องค์กรที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยย่อยได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน      และประสบความสำเร็จได้เร็ว     การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นกลยุทธ์การสื่อสารอีกประเภทหนึ่ง  ซึ่งหลายองค์กรได้นำมาใช้  ทำให้การสื่อสารสะดวกรวดเร็ว ประหยัดงบประมาณในของกระดาษและการขนส่ง
         การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic  Data  Interchange (EDI) หมายถึง  การสับเปลี่ยนเอกสารการซื้อขายทางธุรกิจระหว่างองค์กรมาตราฐาน 2 องค์กรขึ้นไปผ่านทางคอมพิวเตอร์โดยตรง สามารถนำไปใช้ได้ทั้งองค์กรภายในและองค์กรภายนอก ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศตัวอย่าง เช่น  ใบกำกับสินค้า   ( invoices ) ,  ใบขนของ ( Bill Of Lading ) , และใบสั่งซื้อสินค้า ( Purchase Orders ) การสับเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นี้จัดว่า  เป็นส่วนหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic  Commerce : E – Commerce ) ปัจจุบันเริ่มมีหลายบริษัทหลายองค์กรที่นำเอาระบบ EDI  เข้าไปใช้    ตัวอย่างเช่น  Customs Declaration ( กรมศุลกากร การนำเข้าส่งออกสินค้า ) , Purchase Order , Invoice ( ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง การซื้อสินค้า , รายการสินค้า ) Payments ( ธนาคารการชำระเงินระหว่างองค์กร ) Manifest , Bill of Lading , Airway Bill     ( ธุรกิจขนส่ง การไหลเวียนของสินค้าระหว่างท่าเรือ     และ   รวบรวมระบบท่าเรือกับผู้ขนสินค้าในประเทศ  และระหว่างประเทศ ) Letter of Credit ( ผู้นำเข้า ส่งออก กระบวนการนำเข้าส่งออก )
มความสำคัญต่อ E-Commerce คือ มีลักษณะซื้อขายผ่านระบบออนไลน์คล้ายๆกัน
5.            ยกตัวอย่างเว็ปไซต์ที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบ  B2B, B2C, C2C,B2G           มา 2 ตัวอย่าง
1.www
2. JAVA
6. วิธีการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง และท่านเคยใช้หรือไม่ อย่างไร
ระบบการชำระเงินมีกี่ประเภท อะไรบ้างเพื่อให้สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ ระบบการชำระเงินอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือระบบการชำระเงินด้วยเงินสด และระบบการชำระเงินด้วยสื่อการชำระเงินประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เงินสด
       
ระบบการชำระเงินด้วยเงินสดจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ เช่น การจัดพิมพ์ธนบัตร การนำธนบัตรออกใช้ การรับและจ่ายเงินสดระหว่างธนาคารกลาง สถาบันการเงิน และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการตรวจคัดธนบัตรชำรุดออกไปทำลาย และพิมพ์ธนบัตรใหม่ขึ้นทดแทนเป็นต้น

       
ส่วนการชำระเงินด้วยสื่อการชำระเงินที่มิใช่เงินสด จำแนกได้เป็นการใช้สื่อการชำระเงินที่เป็นตราสาร เช่น เช็ค ดร๊าฟท์ ตั๋วแลกเงิน ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับผู้สั่งจ่าย ผู้ทรงเช็ค ธนาคารที่เกี่ยวข้อง ระบบหรือวิธีการแลกเปลี่ยนเช็คระหว่างธนาคาร ตลอดจนกฏหมายเกี่ยวกับการใช้เช็คเป็นต้น สำหรับสื่อการชำระเงินที่มิใช่ตราสารเช่นระบบอิเล็กทรอนิกส์ จะเกี่ยวข้องกับบุคคล สถาบันการเงิน รวมถึงระบบการโอนเงินด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และระเบียบวิธีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องเป็นต้น
ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการมีระบบอะไรบ้าง       
 มี 3 ระบบได้แก่
        1.
ระบบการโอนเงินรายใหญ่ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบ BAHTNET
        2.
ระบบการหักบัญชีเช็คด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ระบบ
ECS
        3.
ระบบการโอนเงินรายย่อยระหว่างธนาคาร หรือ ระบบ Media Clearing

เคยใช้ เช่น  การชำระเงินค่าเทอม