Powered By Blogger

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556


1.ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ ประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์
            
  การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) ได้ขยายขอบเขตเกี่ยว ข้องกับ หลายหน้าที่ในองค์การและเป็นประโยชน์กับบุคคลหลายระดับ ตั้งแต่การใช้งานส่วนบุคคล กลุ่ม องค์การ และระหว่างหน่วยงาน MIS ช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก และซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับหลายองค์การ ดังที่ Kroenke และ Hatch (1994)กล่าวถึง  
            ความสำคัญและผลกระทบของระบบสารสเทศที่มีต่อธุรกิจดังต่อไปนี้
            1. ระบบสารสนเทศช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับการทำงาน
            2. บุคลากรทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ MIS เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาและการใช้งานสารสนเทศทั่วองค์การ ตลอดจนการขยาย ตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศและการปรับรูปของระบบงานอย่างต่อเนื่อง
            3. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและการบรรลุเป้าหมายขององค์การมากขึ้น
            ปัจจุบันเทคโนโลยี MIS มีพัฒนาการมากขึ้นจนมีความสำคัญต่อเราในหลายระดับที่แตกต่างจากอดีต เราจะเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นและความสำคัญสำหรับผู้ศึกษาและปฏิบัติงานในสาขาต่าง ๆ เช่น การบัญชี การเงิน การตลาด และการจัดการทรัพยากรบุคคล แม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ ดังนั้นบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน ในทุกสาขา จึงสมควรมีความรู้และความเข้าใจในหลักการของ MIS เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จในอาชีพได้
Laudon และ Laudon (1994) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมในการแข่งขันทางธุรกิจมี ประการคือ
         1. การรวมตัวของระบบเศรษฐกิจโลก (Emergence of the Global Economy) ก่อให้เกิดกระบวนการโลกาภิวัตน์ ของตลาด (Globalization of Markets) ที่เกิดการบูรณาการของทรัพยากรทางธุรกิจและการแข่งขันทั่วโลก ธุรกิจขยาย งานครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับประเทศ จากระดับประเทศสู่ระดับภูมิภาค และจากระดับภูมิภาคสู่ ระดับโลก โดยที่การขยายตัวของธุรกิจไม่เพียงแต่เป็นการกระจายสินค้า และบริการอย่างเป็นระบบและทั่วถึง แต่ครอบคลุม การจัดตั้ง การจัด เตรียม ทรัพยากร การผลิตและดำเนินงาน ดังนั้นองค์การธุรกิจในยุค โลกาภิวัตน์จึง ต้องมีโครงสร้าง องค์การและการ ประสานงานที่สอดรับและสามารถควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ
       2. การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Transformation of Industrial Economies) ประเทศ อุตสาหกรรม ชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่นปรับตัวจากระบบ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจที่อาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งจะเห็นได้จากประมาณร้อยละ 70 ของรายได้ประชาชาติของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมาจากธุรกิจบริการ และธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจจากอุตสาหกรรมเข้าสู่ธุรกิจบริการ ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุน เช่น การแข่งขันทวีความรุนแรงและซับซ้อนขึ้น วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และบริการสั้นลง ธุรกิจต้องตอบสนองและสร้างความพอใจแก่ลูกค้า เป็นต้น ทำให้ธุรกิจต้องการบุคลากรที่มี ความรู้ (Knowledge Worker) ในการสร้างคุณค่าเพิ่มให้แก่องค์การ ส่งผลให้ธุรกิจต้องพัฒนา ทรัพยากรบุคคลอย่างต่อเนื่อง
            ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้ สารสนเทศที่ ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานของ องค์การ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เราจะเป็นว่า MIS จะประกอบด้วยหน้าที่หลัก ประการคือ
          
1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ มาไว้ด้วยกัน อย่างเป็นระบบ
         2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุน การปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร
   รูปที่ หน้าที่หลักของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
            ชุมพล ศฤงคารศิริ (2537 : 2) ให้ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ เป็นระบบที่รวม (integrate) ผู้ใช้ (user) เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ (machine) เพื่อจัดทำสารสนเทศ สำหรับสนับสนุน การปฏิบัติงาน (operation) การจัดการ (management) และการตัดสินใจ (decision making) ในองค์กรจาก ความหมายที่กล่าวมาสามารถสรุปความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้คือ การรวบรวมและการจัดเก็บข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ทั้งจากภายใน และภายนอก หน่วยงาน เพื่อนำมาประมวลผล และจัดรูปแบบ ให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับองค์การ ในการช่วยในการตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมของผู้บริหาร ในอันที่จะ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ






ที่มา: http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5128209/1/index1.htm

                   

           2. ความแตกต่างของข้อมูลและสารสนเทศ 
                คำว่า “ข้อมูล” (Data) และ “สารสนเทศ” (Information) นั้นมีความหมายอยูว่า ข้อมูล หรือข้อมูลดิบ หมายถึงข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้ครับ ส่วนข้อมูลดิบที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำและปัจจุบัน ครับ เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ
                 ส่วนข้อมูลเหล่านี้ที่ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้วเราจะเรียกว่า สารสนเทศครับ
ดังนั้นความแตกต่างระหว่างข้อมุลและสารสนเทศคือ
ข้อมูลเป็นส่วนของข้อเท็จจริง โดยจากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ สารสนเทศ คือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการเพื่อที่จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันทีครับ หรือการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อกานำไปใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง




ที่มา : 



3.   องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นระบบสนับสนุนการบริหารงานการจัดการ และการปฏิบัติการของบุคคลไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลระดับกลุ่มหรือระดับองค์การไม่ใช่มีเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นแต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จของระบบอีกรวม 5 องค์ประกอบ ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไม่ได้ คือ
 
1. ฮาร์ดแวร์ หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์
ฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบสารสนเทศหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้างรวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารสำหรับเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดตรวจ(Scanner)

2. ซอฟต์แวร์
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการที่สองซึ่งก็คือลำดับขั้นตอนของคำสั่งที่จะสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน เพื่อ ประมวลผลข้อมูลให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการของการใช้งานลักษณะการใช้งานของซอฟต์แวร์ก่อนหน้านี้ผู้ใช้จะต้องติดต่อใช้งานโดยใช้ข้อความเป็นหลักแต่ในปัจจุบันซอฟต์แวร์มีลักษณะการใช้งานที่ง่ายขึ้นโดยมีรูปแบบการติดต่อที่สื่อความหมายให้เข้าใจง่าย

3. ข้อมูล
ข้อมูล เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งของระบบสารสนเทศ การเก็บข้อมูลจากแหล่งกำเนิดข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องมีการตรวจสอบแล้วเท่านั้นจึงจะมีประโยชน์ ข้อมูลจำเป็นจะต้องมีมาตรฐานเมื่อใช้งานในระดับกลุ่มหรือระดับองค์การข้อมูลต้องมีโครงสร้างในการจัดเก็บที่เป็นระบบระเบียบเพื่อการสืบค้นที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ

4. บุคลากร
บุคลากรในระดับผู้ใช้ ผู้บริหาร ผู้พัฒนาระบบ นักวิเคราะห์ระบบ และนักเขียนโปรแกรม เป็นองค์ประกอบสำคัญความสำเร็จของระบบสารสนเทศบุคลากรมีความรู้ ความสามารถทางคอมพิวเตอร์มากเท่าใดโอกาสที่จะใช้งานระบบสารสนเทศและระบบคอมพิวเตอร์ได้เต็มศักยภาพและคุ้มค่ายิ่งมากขึ้นเท่านั้น ผู้ใช้มีโอกาสพัฒนาความสามารถของตนเองและพัฒนาระบบงานได้เองตามต้องการ

 5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงานของผู้ใช้หรือของบุคลากรที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อได้พัฒนาระบบงานแล้วขณะที่ใช้งานก็จำเป็นต้องคำนึงถึงลำดับขั้นตอนของคนและความสัมพันธ์กับเครื่องทั้งในกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน เช่น การบันทึกข้อมูล การประมวลผลการปฏิบัติงานเมื่อเครื่องชำรุดหรือข้อมูลสูญหายและการทำสำเนาข้อมูลสำรองเพื่อความปลอดภัยและการทำเอกสารคู่มือการใช้งานที่ชัดเจน





ที่มา:  http://www.learners.in.th/blogs/posts/171825








           3G 4G 5G คืออะไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร

         3G คื  มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนทีระบบ 2G ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน โดย กสทช. จะจัดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่อนความถี่ 2.1 Hz หรือ 2100MHz ในวันนี้ (16 ตุลาคม 2555) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือในการรับ-ส่งข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย และแข่งขันด้านโทรคมนาคมกับต่างประเทศได้ 

         4G คือ คือเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายผ่านอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ (โทรศัพท์มือถือและแทบเล็ต) ในยุคที่ 4 หรือ 4th Generation Mobile Communications อาจจะเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า LTE (Long Term Evolution) แต่เดิมได้ถูกวางไว้เป็นระบบ 3.9G แต่ต่อมาได้ถูกพัฒนาความเร็วการเชื่อมต่อให้มากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ 4G นั่นเอง

         5G คือ การที่จะค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ประจำได้นั้นก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงสภาพปรกติในการปฏิบัติงานประจำให้ได้เสียก่อน และสิ่งสำคัญที่สุดคือ สภาพเหล่านั้นจะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่จริง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบพื้นที่จริง เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลง อาจสรุปได้ว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ควบคุมสายงานจะต้องเรียนรู้ และนำเอาหลัก 5G ไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้





ทีมา : iphonesociety.com/buyer-guide/introducing-3g-part-1

http://aisclub.ais.co.th/WebboardDetail.aspx?mid=28&room=51&qid=27130






           3G , 4G  5G   คืออะไร  และมีความแตกต่างกันอย่างไร

         3G คื  มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 ซึ่งพัฒนาขึ้นมาเพื่อแทนทีระบบ 2G ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน โดย กสทช. จะจัดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3G บนคลื่อนความถี่ 2.1 Hz หรือ 2100MHz ในวันนี้ (16 ตุลาคม 2555) เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือในการรับ-ส่งข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น พร้อมทั้งสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นได้อีกด้วย และแข่งขันด้านโทรคมนาคมกับต่างประเทศได้ 

         4G คือ คือเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายผ่านอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ (โทรศัพท์มือถือและแทบเล็ต) ในยุคที่ 4 หรือ 4th Generation Mobile Communications อาจจะเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า LTE (Long Term Evolution) แต่เดิมได้ถูกวางไว้เป็นระบบ 3.9G แต่ต่อมาได้ถูกพัฒนาความเร็วการเชื่อมต่อให้มากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ 4G นั่นเอง

         5G คือ การที่จะค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ประจำได้นั้นก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ถึงสภาพปรกติในการปฏิบัติงานประจำให้ได้เสียก่อน และสิ่งสำคัญที่สุดคือ สภาพเหล่านั้นจะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่จริง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบพื้นที่จริง เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลง อาจสรุปได้ว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ควบคุมสายงานจะต้องเรียนรู้ และนำเอาหลัก 5G ไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้





วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

ทำไมต้องเรียน ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

เพราะ  ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศกลายมาเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของความสำเร็จในธุรกิจและการจัดการองค์กร  จึงมีการจัดตั้งสาขาด้านบริหารและการจัดการ    นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมต้องเรียนเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้จัดการ  ผู้ประกอบการ หรือนักธุรกิจมืออาชีพ ระบบสารสนเทศ  เป็นสิ่งที่สำคัญที่คุณจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจ   เหมือนที่คุณเข้าใจสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ